<เรื่องของอาหารเสริมสุขภาพ..ที่ 'คุณ'น่าจะติดตาม>     <มังสวิรัติ: นี่สิ..ดีต่อสุขภาพ>

เรื่องของอาหารเสริมสุขภาพ..ที่ ‘คุณ’น่าจะติดตาม

ประโยคอมตะที่ว่า “คุณเป็นอย่างที่คุณกิน” (you are what you eat) นั้นดูจะไม่เข้าสมัยซะแล้วกับชีวิตคนยุคไซเบอร์ (Cyber age) ที่ถูกควรจะเป็น “คุณ (ควร) กินอย่างที่คุณเป็น” (you should eat what you are)..นั่นคือ ถ้าคุณรู้ว่ามีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเลือดสูง ความดันสูง เบาหวาน หรือโรคอ้วน ก็ควรจะเลี่ยงอาหารที่มี ไขมันสูง หรืออาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด เป็นต้น

การบริโภคอาหารมิใช่จะคำนึงถึงแต่ความอร่อยเพียงอย่างเดียว คุณค่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนัก กินอะไร ? กินอย่างไร ? จึงจะเป็นการ ‘กินอย่างฉลาด’.. “กินอาหารหลากหลายให้ครบ 5 หมู่ กินข้าวเป็นหลัก กินผักให้มาก ผลไม้ประจำ เน้นปลามากกว่าเนื้อสัตว์ ไขมันพอประมาณ น้ำตาลพอควร หลีกเลี่ยงรสเค็ม..” นี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อปฏิบัติในการบริโภคอาหารเพื่อโภชนาการที่ดีของคนไทย แต่ด้วยพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปได้รับสารอาหารที่ไม่สมดุล ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด ไขมันในเลือดและอื่นๆ อาหารเสริมสุขภาพจึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้น

อาหารเสริมสุขภาพ คืออะไร ?

อาหารเสริมสุขภาพ จัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ Dietary supplement products ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานโดยตรง นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติมักอยู่ในลักษณะเป็นเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลว หรือลักษณะอื่น มีจุดมุ่งหมายสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ (มิใช่สำหรับผู้ป่วย) เช่น น้ำมันปลาแคปซูล ใยอาหารอัดเม็ด ใยอาหารผงสำหรับชงหรือโรยอาหาร เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพมีกี่ประเภท

พอจะจัดกลุ่มของอาหารเสริมสุขภาพที่มีจำหน่ายในท้องตลาด หรือ จำหน่ายโดยตรงแก่ผู้ซื้อ โดยแบ่งตามคุณสมบัติและประสิทธิภาพเด่น ๆ ดังนี้ :-

หนึ่ง อาหารบำรุงสุขภาพ จะเป็นพวกที่อวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นอาหารบำรุงร่างกาย รับประทานแล้วมีสุขภาพดี ราคาค่อนข้างแพง อาทิเช่น รังนก โสม หูฉลาม ซุบไก่สกัด เป็นต้น

สอง อาหารป้องกันและรักษาโรค ตัวอย่างเช่น น้ำมันดอกอิฟนิ่งพริมโรส (Evening primrose oil) น้ำมันปลา เลซิทิน นมผึ้ง สาหร่ายคลอเรลลา

สาม อาหารลดน้ำหนัก สำหรับผู้เป็นโรคอ้วน อาหารประเภทนี้ จะเพิ่มปริมาณ บริโภคแล้วอิ่ม ไม่ให้คุณค่าทางอาหาร ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์จากบุก เมล็ดแมงลัก gua gum

สี่ อาหารเสริมนักกีฬา มีสารอาหารที่ให้พลังงานอย่างรวดเร็ว อย่างเช่น เครื่องดื่มกลูโคส เครื่องดื่มเกลือแร่ชนิดต่าง ๆ

ห้า ผลิตภัณฑ์ที่เสริม หรือเติมสารอาหาร (fortification) บางชนิดให้มากขึ้น เช่น ใยอาหาร (dietary fiber) แคลเซียม เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้คนบางกลุ่มที่ได้รับสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ทำอะไร ?

นักวิจัยของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาหารเสริมสุขภาพหลายโครงการด้วยกัน พอที่จะแบ่งแยกออกเป็นประเภทได้ ดังนี้ :-

…ผลิตภัณฑ์ชนิดใยอาหารสูง

…ผลิตภัณฑ์ชนิดแคลอรีต่ำ

และ…ผลิตภัณฑ์ชนิดแคลเซียมสูง

งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่าทางโภชนาการนั้น อาศัยหลักการพื้นฐานในการเติมสารอาหาร (nutrient) ลงในผลิตภัณฑ์อาหาร (Dr. Allan Forbes of the Bureau of Foods, FDA) มีหลายวิธีคือ

    1. restoration คือการใส่สารอาหารซึ่งเดิมมีอยู่ในวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของอาหาร แต่อาจสูญเสียหรือถูกกำจัดออกระหว่างขบวนการผลิต จึงเติมสารอาหารชนิดนั้นลงไปเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่นการเติม dietary fiber ลงไปในผลิตภัณฑ์

    2. fortification เป็นการเสริมสารอาหารบางตัว อาจจะเป็นวิตามิน เกลือแร่ชนิดต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารครบถ้วนตาม RDI (Recommended Daily Intakes) กำหนดไว้

    3. เติมสารอาหารลงไปในอาหารเพื่อบุคคลบางกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น อาหารสำหรับคนเป็นโรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน

    4. เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่เลียนแบบจากอาหารดั้งเดิม

High fiber diet…ใครต้องการ ?

กินผักให้ได้ 7% ของพลังงานทั้งหมดต่อวันหรือมากกว่า หรือกินผักและผลไม้วันละ 400 ถึง 800 กรัม หรือ 5 ส่วน (serving) หรือมากกว่าต่อวัน กินให้มากและหลากหลายตลอดปี (1 serving = ผักสด 1 ถ้วยตวง หรือผักสุก ½ ถ้วยตวง หรือผลไม้ 1 ผล หรือผลไม้หั่นบรรจุกระป๋อง ½ ถ้วย)

หากทำได้เช่นข้อความดังกล่าวข้างต้น อาหารเสริมชนิดใยอาหารสูงก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับคุณ แต่หากทำไม่ได้ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใยอาหาร อาจเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อให้ร่างกายได้รับใยอาหารเพียงพอ

ใยอาหาร (dietary fiber) เป็นส่วนประกอบของพืชที่เอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารของคนไม่สามารถย่อยได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดในลำไส้ใหญ่สามารถย่อยสลายส่วนประกอบบางส่วนของใยอาหารได้ โดยเฉพาะส่วนที่เป็น pectic substance โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ soluble dietary fiber (ใยอาหารชนิดละลายน้ำได้) ได้แก่ pectin hemicellulose บางชนิด polysaccharides อื่น ๆ ส่วน Insoluble dietary fiber (ใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำ) ได้แก่ lignin cellulose hemicellulose ใยอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้มีผลต่อระบบสรีระ (physiological) และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรนั้น สรุปให้เห็นในตารางต่อไปนี้ :-

Comparative Solubilities of Dietary Fiber from Selected Whole Foods, Extracts, and Isolates*

 

 

 

 

Physiological

 

Solubility

Whole food

Isolate

Extract

effects

Health benefits

High in soluble

Citrus fruit

 

Pectin

Increases viscosity

Increases glucose tolerance

dietary fiber

Apples

 

 

Binds bile acids

Decreases cholesterol

 

Vegetables

 

Gums

Increases short-chain

 

 

 

 

 

fatty acids

 

 

Beans

 

Hemicellulose

Increases viscosity

Increases glucose tolerance

 

Other

 

Other

Binds bile acids

Decreases cholesterol

 

legumes

 

polysaccharides

Increases short-chain

Decreases colon cancer

 

 

 

 

fatty acids

 

 

 

 

 

Increases fecal bulk

 

 

Oats

Oat bran

b -glucans

Increases viscosity

Increases glucose

 

Barley

 

 

Increases short-chain

tolerance

 

 

 

 

fatty acids

Decreases cholesterol

 

Wheat

Wheat bran

Cellulose

Increases fecal bulk

Increases glucose

High in insoluble

Corn

Corn bran

Lignin

Decreases transit time

tolerance

dietary fiber

 

 

 

Binds bile acids

Decreases colon cancer

* แหล่ง : Hughes, JS. 1991. Potential contribution of dry bean dietary fiber to health.

Food Technol. 45 (9) : 122-126

นักวิจัยของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีใยอาหารสูง แคลอรีต่ำ หลายโครงการด้วยกัน โดยใช้แหล่งของใยอาหารสูงจากผลผลิตทางการเกษตรที่มีในประเทศ ประเภทถั่วต่าง ๆ ธัญพืช งา เมล็ดพืช ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด อาทิเช่น อาหารเสริมใยอาหารชนิดผง ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ (ขนมปังและคุกกี้) เครื่องดื่มสำเร็จรูป

ชนิดดื่ม นอกจากนี้ยังนำส่วนของน้ำมะพร้าวที่เหลือทิ้ง มาทำเป็นวุ้นน้ำมะพร้าว ใช้เป็นแหล่งของใยอาหาร (cellulose) สูงนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย งานวิจัยถูกเผยแพร่ออกสู่ประชาชนให้สามารถทำเป็นอาชีพเสริม ก่อให้เกิดรายได้ที่ดีอีกหนึ่งทาง

อาหารไทยทั้งคาว-หวาน ที่นิยมทานกันส่วนใหญ่ใส่กะทิ จึงมีไขมันสูง และเป็นไขมันชนิดอิ่มตัวอีกต่างหาก ทำให้ผู้ที่มีปัญหาโคเลสเตอรอลสูงต่างหวาดกลัวไม่กล้าทานมาก จึงได้นำ Soy oat มาใช้เป็นสารทดแทนไขมัน เนื่องจาก soy oat ตัวนี้ ให้แคลอรีต่ำเพียง 1 กิโลแคลอรี / กรัม เป็น soluble fiber และให้ความรู้สึกมัน ๆ เหมือนไขมัน อาหารไทยที่ทำ ไม่ว่าจะเป็น แกงเขียวหวานไก่ น้ำพริกขนมจีน ถั่วกวน สัมปันนี จึงรับประทานได้อย่างเต็มปาก และเต็มใจ

น้ำนมถั่วเหลือง เต้าหู้อ่อน ก็ถูกนำมาพัฒนาปรับปรุงใหม่ ให้มี soluble fiber มากขึ้น โดยเติม soy oat ลงในส่วนผสม ผู้บริโภคที่นิยมผลิตภัณฑ์เหล่านี้อยู่แล้ว ก็ยิ่งจะชอบใจมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นดับเบิ้ล nutritive value เลยทีเดียว

แล้วขนมอบสไตล์ตะวันตกล่ะ..?

ไม่ว่าจะเป็น เค้กกล้วยหอม บราวนี่ ล้วนแต่อุดมด้วยไขมัน จากนมเนย ทานมากย่อมไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพแน่นอน Oatrim-5 ซึ่งเป็นสารทดแทนไขมัน (fat substitute) ถูกนำมาทดแทนเนยสดมีข้อดีคือ ให้พลังงาน 1 กิโลแคลอรีต่อกรัม อีกทั้งยังให้ใยอาหารประเภท soluble fiber ช่วยลด โคเลสเตอรอลในเลือด เค้กกล้วยหอม และบราวนี่ ที่พัฒนาขึ้นมีปริมาณไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลต่ำกว่าขนมที่จำหน่ายทั่ว ๆ ไป

ผลิตภัณฑ์แคลอรีต่ำ..

นี่ก็เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพอีกชนิดหนึ่งที่นักวิจัยได้ทำการศึกษา โดยทำเป็นอาหารว่างพลังงานต่ำจากข้าวกล้อง โดยใช้เครื่องเอ็กซ์ทรูเดอร์ ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักแต่ก็ยังชอบที่จะเคี้ยวขนมในปากตลอดเวลา นอกจากนี้ยังได้พัฒนาน้ำปลาหวานสูตรลดแคลอรี (ต่ำกว่าสูตรมาตรฐาน ร้อยละ 30) เพื่อสนองความต้องการของผู้ที่ชอบกินมะม่วงน้ำปลาหวาน แต่กลัวอ้วน โดยใช้น้ำตาลที่ให้พลังงานต่ำ เช่น sorbitol (ให้พลังงาน 1 ใน 3 ของน้ำตาลทราย) high fructose corn syrup (HFC) ที่มีความหวานมากกว่า sucrose 1.2 เท่าและ Xantan gum เป็นส่วนผสมที่เพิ่มความเหนียวให้แก่ผลิตภัณฑ์

อาหาร High Calcium

ผลิตภัณฑ์ชนิดใดที่เสริม เติม เพิ่ม แคลเซียมลงไป ดูจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นั่นเป็นเพราะว่า โรคกระดูกผุ กระดูกกร่อน กระดูกพรุน มาเยือนประชากรของประเทศก่อนที่จะถึงวัยอันควร สาเหตุสำคัญคงเป็นเพราะขาดการออกกำลังกาย และบริโภคแคลเซียมน้อยกว่าปริมาณขั้นต่ำที่กำหนดไว้ สิ่งนี้เป็นเหตุช่วยส่งเสริมให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้คนส่วนใหญ่จึงพยายามซื้อหาแคลเซียมหรืออาหารเสริมแคลเซียมในรูปแบบต่าง ๆ มารับประทาน

ด้วยเหตุนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป (Food bar) ชนิดแคลเซียมสูง จึงได้ถูกผลิตขึ้น เพื่อให้เหมาะกับผู้บริโภคยุคเร่งรีบ โดยพัฒนาให้เป็นลักษณะ Food bar ที่มีรสชาติคุ้นลิ้นคนไทย อย่างเช่น ข้าวผัด ผัดกะเพรา เป็นต้น โดยข้อเท็จจริงแล้ว หากเราบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ปลาตัวเล็ก ผักใบเขียว งา ฯลฯ เป็นประจำแล้ว อาหารเสริมแคลเซียมก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็น แต่หากจะซื้อหามาบริโภค ก็ควรจะมีความรู้ ความเข้าใจก่อนว่า บางครั้งผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมที่โฆษณาอวดอ้างว่า แคลเซียมสูงนั้น เป็นแคลเซียมชนิดไหน เพราะแคลเซียมในแต่ละรูปแบบ จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายไม่เท่ากัน พบว่า calcium bioavailability ของ calcium lactate เท่ากับ 86 %, calcium gluconate 77%, calcium citrate 80%, calcium phosphate 56% และ calcium carbonate 76% ดังนั้น จะซื้อหาแคลเซียมชนิดใดมารับประทานก็ควรจะดูให้ถ่องแท้ มิใช่เพียงแต่สรรพคุณที่โฆษณา

…และในวันนี้จะพบคำว่า Oligofructose ปรากฏอยู่บนฉลากที่บรรจุผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มันคืออะไร? Oligofructose เป็น non-digestive oligosaccharides ไม่สามารถถูกย่อยในลำไส้เล็ก เป็นองค์ประกอบทางธรรมชาติของ inulin พบในผักผลไม้ทั่วไป เช่น แอสปารากัส หัวหอม กระเทียม กล้วย ข้าวสาลี เป็นต้น จัดว่าเป็น soluble dietary fiber oligofructose ยังเป็น prebiotic ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้ ชนิดให้ประโยชน์แก่ร่างกาย (bifidobacteria) และที่สำคัญ oligofructose ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย

…กล่าวได้ว่าอาหารเสริมสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ทั้งที่มีราคาถูก และแพง ก็หาใช่สิ่งจำเป็นที่จะต้องขวนขวายหามารับประทาน เพราะอันที่จริงหากกินอาหารปกติให้ครบทุกหมู่ ตามหลักโภชนาการแล้ว สุขภาพย่อมดีได้ โดยมิต้องพึ่งพาอาหารเสริมสุขภาพ เพราะคำว่า

เ ส ริ ม ก็บอกอยู่แล้วว่า มิ ใ ช่ อ า ห า ร ห ลั ก ’

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โดย : เพลินใจ ตังคณะกุล

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์